กระบวนการผลิต
วัตถุดิบ

ดีสโตนนั้นใช้วัตถุดิบยางพาราจากประเทศไทย เพราะประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าสามารถผลิตยางพาราที่มีคุณภาพมากที่สุดในโลก ส่งผลส่งให้ยอดส่งออกยางดิบของไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ซึ่งแหล่งผลิตยางที่มีคุณภาพนั้นอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันขยับศักยภาพการผลิตด้วยการขยายพื้นทีปลูกยางไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของภาครัฐ จึงทำให้เรามียางพาราที่มีคุณภาพสูงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางเส้นสำเร็จรูปได้เป็นจำนวนมาก และเพียงพอต่อความต้องการตลอดทั้งปี และทำให้ต้นทุนในการผลิตยางเส้นนั้นลดน้อยลง และสามารถส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยังมียางสังเคราะห์  ผ้าใบและเส้นลวด ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตที่จะให้ได้ออกมาเป็นยางแต่ละชนิดตามความต้องการของผู้บริโภค

กระบวนการผลิต

จากวัตถุดิบที่มาจากประเทศไทยเอง มาเข้าสู่กระบวนการผลิตตามขั้นตอนซึ่งมี 7 ขั้นดังนี้

  • ขั้นตอนการผสมยาง (Banbury Mixing) เครื่องผสมยางเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต ยางดิบ (ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์) และสารเคมีจะถูกนำไปบดผสมกัน ภายในห้องผสมที่มีการควบคุม อุณหภูมิ ความดัน และเวลาตามที่สูตรกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติทั้งทางด้านกายภาพและเคมีตามต้องการ สูตรที่ใช้ในการผสมจะแตกต่างกันไปตามหน้าที่ของส่วนประกอบที่จะนำไปผลิต
  • ขั้นตอนการบดยาง (Milling) ยางที่ได้จากขั้นตอนการผสมยาง (Banbury Mixing) จะถูกนำมาผ่านเครื่องบด เพื่อให้ได้ยางที่เป็นแผ่นยาวๆ โดยอาศัยแรงกดของการหมุนลูกกลิ้ง 2 ตัว ที่มีทิศทางการหมุนและความเร็วที่แตกต่างกัน
  • ขั้นตอนการกดอัด และการฉาบผ้าใบ(Extruding and Calendering) หลังจากผ่านขั้นตอนการบดยาง (Milling) ยางก็จะถูกนำมาสู่ขั้นตอนการกดอัดให้เรียบ โดยใช้เครื่องฉาบผ้าใบ (Calender Machine)
  • ขั้นตอนการขึ้นรูปยาง (Component Assembly) การขึ้นรูปยางต้องใช้กระบวนการที่อาศัยเครื่องจักรอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เครื่องจักรนี้จะประกอบด้วยล้อหมุน (Rotating Drum) ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปยาง และส่วนที่เป็นตัวป้อนยางให้กับเครื่องสร้างยาง )
  • ขั้นตอนการสร้างยาง (Building) เครื่องสร้างยาง (Tyre Building Machine) นับว่าเป็นเครื่องที่มีความสำคัญมากในขบวนการผลิตยาง เพราะใช้ในการประกอบส่วนต่างๆ ของยางที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ให้เป็นโครงยางดิบ (Green Tyre) เครื่องสร้างยางได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนประกอบต่างๆ ของยางจะถูกนำมาประกอบกันเข้าตามลำดับทีละชิ้น ตรงตำแหน่งต่างๆ ที่ได้มีการออกแบบไว้อย่างเที่ยงตรง เพื่อให้ได้ขนาดและคุณภาพของยางตามต้องการ
  • ขั้นตอนการอบยาง และขบวนการวัลคาไนซ์ (Curing and Vulcanizing) ในขั้นตอนนี้คนงานจะเป็นผู้นำโครงยางดิบ (Green Tyre) เข้าสู่เครื่องอบยาง (Curing Press) ซึ่งการอบยาง และขบวนการวัลคาไนซ์ จะทำให้ยางที่เหนียวและมีความยืดหยุ่นมากเกินไป เปลี่ยนเป็นยางที่มีความแข็ง ลดความยืดหยุ่นให้น้อยลง และให้มีความทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ในการอบยางจะต้องมีการควบคุมเวลา อุณหภูมิ ความดัน และการไหลของนํ้าร้อนให้พอเหมาะที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนซ์ที่สมบูรณ์
  • ขั้นตอนการตรวจสอบ (Inspection and Finishing) ยางที่อบเสร็จแล้วทุกชนิดจะต้องผ่านการตรวจสอบทุกเส้น ก่อนที่จะส่งเข้าคลังสินค้า (Warehouse) และลูกค้าต่อไป การตรวจสอบจะครอบคลุมถึงรูปลักษณ์ (Appearance) และตำหนิต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวยาง รวมทั้งทำการคัดแยกส่วนที่เป็นยางเสียออกไป
 

ด้วยความหลากหลายและกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ดีสโตนมีให้แก่ลูกค้า ที่มีครบทุกประเภทของยางล้อ ไม่ว่าจะเป็นยางนอก ยางในรถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ยางนอกและยางในสำหรับรถเพื่อการพาณิชย์ อาทิ ยางรถบรรทุก รถโดยสารขนาดใหญ่ รถที่ใช้ในการเกษตร ฯลฯ และยางเรเดียลสำหรับพาหนะ 4 ล้อ รถยนต์นั่ง รถปิคอัพ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยเฉพาะในส่วนของยางเรเดียลสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วไป รถปิคอัพ และรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ดีสโตนได้คิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองการใช้งานในหลายๆ รูปแบบ เช่น ยางที่เน้นความนุ่มเงียบ ยางที่เน้นสมรรถนะความเร็วและการยึดเกาะถนน ยางออฟโรด เป็นต้น โดยในส่วนของยางเรเดียลดีสโตนได้ผลิตยางสำหรับขอบกระทะล้อตั้งแต่ 12 นิ้ว ถึง 20 นิ้ว

วัตถุดิบ

ดีสโตนนั้นใช้วัตถุดิบยางพาราจากประเทศไทย เพราะประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าสามารถผลิตยางพาราที่มีคุณภาพมากที่สุดในโลก ส่งผลให้ยอดส่งออกยางดิบของไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ซึ่งแหล่งผลิตยางที่มีคุณภาพนั้นอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันขยับศักยภาพการผลิตด้วยการขยายพื้นทีปลูกยางไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของภาครัฐ จึงทำให้เรามียางพาราที่มีคุณภาพสูงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางเส้นสำเร็จรูปได้เป็นจำนวนมาก และเพียงพอต่อความต้องการตลอดทั้งปี และทำให้ต้นทุนในการผลิตยางเส้นนั้นลดน้อยลง และสามารถส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยังมียางสังเคราะห์  ผ้าใบและเส้นลวด ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตที่จะให้ได้ออกมาเป็นยางแต่ละชนิดตามความต้องการของผู้บริโภค

กระบวนการผลิต

จากวัตถุดิบที่มาจากประเทศไทยเอง มาเข้าสู่กระบวนการผลิตตามขั้นตอนซึ่งมี 7 ขั้นดังนี้

  • ขั้นตอนการผสมยาง (Banbury Mixing) เครื่องผสมยางเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต ยางดิบ (ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์) และสารเคมีจะถูกนำไปบดผสมกัน ภายในห้องผสมที่มีการควบคุม อุณหภูมิ ความดัน และเวลาตามที่สูตรกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติทั้งทางด้านกายภาพและเคมีตามต้องการ สูตรที่ใช้ในการผสมจะแตกต่างกันไปตามหน้าที่ของส่วนประกอบที่จะนำไปผลิต
  • ขั้นตอนการบดยาง (Milling) ยางที่ได้จากขั้นตอนการผสมยาง (Banbury Mixing) จะถูกนำมาผ่านเครื่องบด เพื่อให้ได้ยางที่เป็นแผ่นยาวๆ โดยอาศัยแรงกดของการหมุนลูกกลิ้ง 2 ตัว ที่มีทิศทางการหมุนและความเร็วที่แตกต่างกัน
  • ขั้นตอนการกดอัด และการฉาบผ้าใบ(Extruding and Calendering) หลังจากผ่านขั้นตอนการบดยาง (Milling) ยางก็จะถูกนำมาสู่ขั้นตอนการกดอัดให้เรียบ โดยใช้เครื่องฉาบผ้าใบ (Calender Machine)
  • ขั้นตอนการขึ้นรูปยาง (Component Assembly) การขึ้นรูปยางต้องใช้กระบวนการที่อาศัยเครื่องจักรอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เครื่องจักรนี้จะประกอบด้วยล้อหมุน (Rotating Drum) ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปยาง และส่วนที่เป็นตัวป้อนยางให้กับเครื่องสร้างยาง )
  • ขั้นตอนการสร้างยาง (Building) เครื่องสร้างยาง (Tyre Building Machine) นับว่าเป็นเครื่องที่มีความสำคัญมากในขบวนการผลิตยาง เพราะใช้ในการประกอบส่วนต่างๆ ของยางที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ให้เป็นโครงยางดิบ (Green Tyre) เครื่องสร้างยางได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนประกอบต่างๆ ของยางจะถูกนำมาประกอบกันเข้าตามลำดับทีละชิ้น ตรงตำแหน่งต่างๆ ที่ได้มีการออกแบบไว้อย่างเที่ยงตรง เพื่อให้ได้ขนาดและคุณภาพของยางตามต้องการ
  • ขั้นตอนการอบยาง และขบวนการวัลคาไนซ์ (Curing and Vulcanizing) ในขั้นตอนนี้คนงานจะเป็นผู้นำโครงยางดิบ (Green Tyre) เข้าสู่เครื่องอบยาง (Curing Press) ซึ่งการอบยาง และขบวนการวัลคาไนซ์ จะทำให้ยางที่เหนียวและมีความยืดหยุ่นมากเกินไป เปลี่ยนเป็นยางที่มีความแข็ง ลดความยืดหยุ่นให้น้อยลง และให้มีความทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ในการอบยางจะต้องมีการควบคุมเวลา อุณหภูมิ ความดัน และการไหลของนํ้าร้อนให้พอเหมาะที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนซ์ที่สมบูรณ์
  • ขั้นตอนการตรวจสอบ (Inspection and Finishing) ยางที่อบเสร็จแล้วทุกชนิดจะต้องผ่านการตรวจสอบทุกเส้น ก่อนที่จะส่งเข้าคลังสินค้า (Warehouse) และลูกค้าต่อไป การตรวจสอบจะครอบคลุมถึงรูปลักษณ์ (Appearance) และตำหนิต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวยาง รวมทั้งทำการคัดแยกส่วนที่เป็นยางเสียออกไป
 

ด้วยความหลากหลายและกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ดีสโตนมีให้แก่ลูกค้า ที่มีครบทุกประเภทของยางล้อ ไม่ว่าจะเป็นยางนอก ยางในรถจักรยานยนต์และรถจักรยาน ยางนอกและยางในสำหรับรถเพื่อการพาณิชย์ อาทิ ยางรถบรรทุก รถโดยสารขนาดใหญ่ รถที่ใช้ในการเกษตร ฯลฯ และยางเรเดียลสำหรับพาหนะ 4 ล้อ รถยนต์นั่ง รถปิคอัพ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยเฉพาะในส่วนของยางเรเดียลสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วไป รถปิคอัพ และรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ดีสโตนได้คิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองการใช้งานในหลายๆ รูปแบบ เช่น ยางที่เน้นความนุ่มเงียบ ยางที่เน้นสมรรถนะความเร็วและการยึดเกาะถนน ยางออฟโรด เป็นต้น โดยในส่วนของยางเรเดียลดีสโตนได้ผลิตยางสำหรับขอบกระทะล้อตั้งแต่ 12 นิ้ว ถึง 20 นิ้ว